บริษัทฯ ประกอบธุรกิจให้บริการเป็นคนกลางในการจัดการประมูลทรัพย์สินทุกประเภท รวมทั้งให้บริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมูล เช่น การเคลื่อนย้ายทรัพย์สินที่ทำการประมูล การประสานงานกับสถาบันการเงินในการหาแหล่งเงินทุนในการซื้อทรัพย์สินแก่ผู้ประมูล การรับฝากขายทรัพย์สินที่เข้าประมูลแต่ไม่สามารถจบการประมูลได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การให้บริการด้านอื่นๆ นั้น เป็นการให้บริการเสริมเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ประมูลซื้อ
การให้บริการประมูลทรัพย์สิน
รายได้ส่วนใหญ่ในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ มาจากรายได้ค่าบริการในการเป็นคนกลางในการประมูลทรัพย์สินเป็นหลัก ซึ่งบริษัทฯ จะรับรู้รายได้ในรูปแบบค่าธรรมเนียมในการให้บริการโดยอาจมีทั้งการเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นจากเจ้าของทรัพย์สินที่นำมาประมูล และ/หรือ ค่าดำเนินการจากผู้ประมูลซื้อ แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจคนกลาง คือ ต้องโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทั้ง 2 กลุ่มได้สูงสุด โดยการเป็นคนกลางในธุรกิจประมูลนั้น ผู้เกี่ยวข้องจะประกอบด้วยผู้ประมูลซื้อ และเจ้าของทรัพย์สินที่นำมาประมูล ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
ผู้ประมูลซื้อ: ต้องการความหลากหลายของทรัพย์สิน และปริมาณที่เพียงพอเพื่อให้สามารถเลือกและได้ทรัพย์สินที่ตรงตามความต้องการ มีราคาที่เหมาะสมกับความต้องการของตน
เจ้าของทรัพย์สิน: ต้องการให้สามารถจำหน่ายทรัพย์สินของตนเองได้ในราคาที่เหมาะสม โดยเจ้าของทรัพย์สินจะเลือกบริษัทผู้จัดการการประมูลที่มีผู้เข้าร่วมประมูลเป็นจำนวนมาก เพื่อเพิ่มโอกาสที่สินค้าของตนจะสามารถจำหน่ายได้ รวมทั้งมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อราคาจำหน่ายทรัพย์สิน
จากความต้องการที่แตกต่างดังกล่าวข้างต้น การประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจประมูลนั้น บริษัทฯ ต้องให้ความสำคัญในการจัดหาทรัพย์สินในการประมูลให้มีความหลากหลายและมีปริมาณที่เพียงพอ เพื่อกระตุ้นให้มีผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสที่การประมูลทรัพย์สินสำเร็จเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความเป็นธรรมของราคาที่เพิ่มขึ้นจากการแข่งขันที่สมบูรณ์ ทำให้โดยส่วนใหญ่ในการประกอบธุรกิจแล้ว บริษัทฯ มิได้เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นจากเจ้าของทรัพย์สินที่นำมาประมูลแต่อย่างใด
ทรัพย์สินที่บริษัททำการจัดการประมูล สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้
1) รถยนต์
การให้บริการประมูลรถยนต์ถือเป็นรายได้หลักของบริษัทฯ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 73 - 78 ของรายได้รวมของบริษัทฯ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการให้บริการประมูลรถยนต์ทุกประเภท ทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น ทั้งรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ สามารถซ่อมได้ หรือซากรถจากอุบัติเหตุ โดยเจ้าของทรัพย์สินรถยนต์ที่นำมาประมูล จะประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ
- กลุ่มนิติบุคคล เช่น สถาบันการเงิน บริษัทลิสซิ่ง ที่มีการยึดรถจากการปล่อยสินเชื่อรถยนต์, บริษัทรถเช่าที่รถยนต์ครบกำหนดอายุใช้งาน, บริษัททั่วไปที่มีรถยนต์สำหรับผู้บริหาร หรือรถยนต์ส่วนกลางของพนักงาน เป็นต้น
- กลุ่มลูกค้าบุคคล เช่น บุคคลทั่วไปที่เป็นเจ้าของรถยนต์, ผู้ค้ารถยนต์มือสอง (เต้นท์รถ) ซึ่งต้องการนำรถยนต์ของตนเองมาจำหน่ายเพื่อการหมุนเวียน เป็นต้น
สำหรับผู้เข้าประมูลรถยนต์นั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ค้ารถยนต์มือสองซึ่งจะทำการประมูลรถยนต์เพื่อนำไปจำหน่ายต่อแก่ลูกค้าบุคคลทั่วไปอีกทอดหนึ่ง
ตัวอย่างรถยนต์ที่บริษัทฯ ให้บริการประมูล
ที่มา : บริษัท
2) รถจักรยานยนต์
การให้บริการประมูลรถจักรยานยนต์นั้น ก่อให้เกิดรายได้ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 8 - 14 ของรายได้รวมของบริษัทฯ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ให้บริการประมูลรถจักรยานยนต์ทุกประเภท ทุกยี่ห้อ และทุกรุ่น โดยเจ้าของทรัพย์สินที่นำมาประมูลส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินที่ทำการยึดรถจักรยานยนต์จากการปล่อยสินเชื่อ และผู้เข้าประมูลส่วนใหญ่จะเป็นผู้ค้ารถจักรยานยนต์มือสอง ร้านค้าจักรยานยนต์ที่จำหน่ายทั้งรถใหม่และรถมือสอง
ตัวอย่างรถจักรยานยนต์ที่บริษัทให้บริการประมูล
ที่มา : บริษัท
3) ทรัพย์สินประเภทอื่นๆ
การให้บริการประมูลทรัพย์สินอื่นๆ ตามความต้องการของลูกค้านั้น มีสัดส่วนรายได้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของรายได้รวม โดยวัตถุประสงค์หลักของการประมูลทรัพย์สินอื่นนั้นเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับคำว่า “สหการประมูล” คือ มีความหลากหลายของทรัพย์สินที่นำมาประมูล ตลอดจนเป็นการขยายฐานกลุ่มผู้เข้าร่วมประมูลให้มีวงกว้างเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
ในปี 2558 บริษัทมีการประมูลสินค้าแบรนด์เนม ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า และ นาฬิกา รวมทั้งการได้รับความไว้วางใจให้เป็นดำเนินการจัดการประมูล ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 และ 900 เมกะเฮิร์ท รองรับ 4G ของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
สถานที่ประมูล
บริษัทฯ มีจุดประมูลรถทั่วประเทศไทยทั้งสิ้น 14 แห่ง ซึ่งครอบคลุมทั่วภูมิภาคของประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในภูมิภาคต่างๆสามารถซื้อขายได้สะดวก โดยสถานที่ในการประมูลของบริษัทฯสามารถจำแนกใน 2 ลักษณะ คือ สถานที่จัดประมูลประจำ และศูนย์ประมูลสัญจร
สถานที่จัดประมูลประจำ ในพื้นที่ในกรุงเทพและปริมณฑลมีจำนวน 2 แห่ง ดังนี้
สำนักงานใหญ่ : | ตั้งอยู่ที่ 518/28 ซ.รามคำแหง 39 (เทพลีลา 1) แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 เป็นพื้นที่จัดประมูลรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และทรัพย์สินอื่นๆ โดยจะมีการประมูลรถยนต์สัปดาห์ละ 5 วัน ได้แก่ วันจันทร์ วันอังคาร พฤหัส เสาร์ และอาทิตย์ ส่วนรถจักรยานยนต์สัปดาห์ละ 2 วัน ได้แก่ พฤหัส และวันเสาร์ ทั้งนี้ รถยนต์ที่ทำการประมูลที่สำนักงานใหญ่นั้นจะเป็นรถยนต์ทุกประเภท สำหรับสินค้าแบรนด์เนมและทรัพย์สินอื่นๆ ปัจจุบันบริษัทฯ ชะลอการให้บริการ |
สาขารังสิต : ตั้งอยู่ที่ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 8 ปทุมธานี |
จะเป็นพื้นที่จัดประมูลรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รถขับเคลื่อนไม่ได้ รถซาก รถเพื่อการเกษตร รถบรรทุก และสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยรถยนต์ประมูลสัปดาห์ละ 4 วัน ได้แก่ วันพุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ส่วนรถจักรยานยนต์ทำการประมูลทุกวันอาทิตย์ สำหรับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าปัจจุบันบริษัทฯ ชะลอการให้บริการ |
ศูนย์ประมูลสัญจร
บริษัทฯ มีการจัดประมูลสัญจรตามภูมิภาคต่างๆ โดยเน้นพื้นที่ซึ่งเป็นจังหวัดหลักของแต่ละภูมิภาค ซึ่งบริษัทฯ มีพื้นที่จัดเก็บรถยนต์อยู่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเคลื่อนย้ายรถยนต์ โดยจะมีการกำหนดแผนการประมูลล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ต้องการเข้าประมูลรับทราบ ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
ภาคเหนือ : | จังหวัดพิษณุโลก |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : | จังหวัดขอนแก่น |
ภาคตะวันออก : | จังหวัดชลบุรี, จังหวัดระยอง |
ภาคกลาง : | จังหวัดราชบุรี |
นอกจากนั้น ในบางกรณีบริษัทฯ มีการจัดประมูลในลักษณะเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของลูกค้าเจ้าของทรัพย์สินในสถานที่ต่างๆ เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่, กรมศุลกากร เป็นต้น
การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประมูล
การให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการประมูลได้แก่
1) การให้บริการเคลื่อนย้ายรถยนต์
บริษัทฯ มีการให้บริการเคลื่อนย้ายรถยนต์ โดยส่วนใหญ่จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายรถยนต์จากผู้ที่ชนะการประมูล ซึ่งบริษัทฯ จะแสดงอัตราค่าเคลื่อนย้ายเพื่อเปิดเผยให้ผู้ประมูลซื้อทราบในใบรายการประมูลรถของแต่ละครั้งก่อนเข้าร่วมประมูล เว้นแต่ในบางกรณีที่มีข้อสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้ขายรถไม่ให้มีการเรียกเก็บค่าเคลื่อนย้ายรถจากผู้ประมูลซื้อ บริษัทฯ จึงจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเอง ทั้งนี้ สำหรับการให้บริการเคลื่อนย้ายรถ มิได้ถือเป็นการให้บริการหลักของบริษัทฯ แต่เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขายเท่านั้น
ในการกำหนดค่าบริการขนย้ายจะพิจารณาจากต้นทุนค่าเคลื่อนย้ายที่บริษัทฯ จ่ายและ/หรือค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ผู้รับจ้างเคลื่อนย้ายตั้งแต่จุดที่บริษัทฯ รับรถจากผู้ขายไปสิ้นสุด ณ จุดที่ทำการประมูล โดยบริษัทฯ จะนำต้นทุนดังกล่าวมาเฉลี่ยเป็นต้นทุนค่าเคลื่อนย้ายรถแต่ละคัน
2) การให้บริการประเมินราคา
บริษัทฯ มีการให้บริการประเมินราคาทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งบริษัทฯ จะคิดค่าบริการในกรณีที่การประเมินราคาทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้มีการประมูลราคาผ่านบริษัทฯ
สถานที่จัดเก็บทรัพย์สินเพื่อรอประมูลของบริษัทรวม 32 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ 31 จังหวัด มีดังนี้
ภาคกลาง | ภาคเหนือ | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ภาคตะวันออก | ภาคใต้ |
---|---|---|---|---|
|
|
|
|
|
* โดยทั้งนี้สถานที่ประมูลของบริษัทฯ มีทั้งสิ้น 14 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ : สำนักงานใหญ่, พุทธมณฑล สาย 2, ปทุมธานี : สาขารังสิต, เชียงใหม่, พิษณุโลก, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา, อุบลราชธานี, ชลบุรี : พัทยา, ระยอง, สุราษฏร์ธานี หาดใหญ่ และ ราชบุรี
การลงทะเบียน และผู้เข้าร่วมประมูล
1) การลงทะเบียน
ในวันประมูล ผู้สนใจร่วมประมูลต้องลงทะเบียนกับบริษัทฯ และทำการชำระเงินค่ามัดจำป้ายประมูล จึงจะมีสิทธิ์ทำการประมูลทรัพย์สินได้ และค่ามัดจำดังกล่าว จะทำการคืนให้แก่ผู้เข้าประมูลภายหลังจากผู้เข้าร่วมประมูลคืนป้ายประมูลโดยอัตราค่ามัดจำป้ายประมูลสำหรับลูกค้าทั่วไปในการประมูลทรัพย์สินแต่ละประเภทนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้
- ป้ายละ 20,000 บาท (สามารถประมูลได้ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์)
- ป้ายละ 5,000 บาท (สำหรับการประมูลรถจักรยานยนต์)
- ป้ายละ 2,000 บาท (สำหรับการประมูลสินค้าแบรนด์เนม และเครื่องใช้ไฟฟ้า)
- ป้ายละ 20,000 บาท (สำหรับการประมูลบ้าน)
- ป้ายละ 20,000 บาท (สำหรับการประมูลรถยนต์และรถจักรยานยนต์ผ่าน E-Auction)
2) ผู้เข้าร่วมประมูล
ผู้เข้าร่วมประมูล หรือผู้ซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ได้แก่ ผู้ค้ารถซึ่งมีทั้งในรูปนิติบุคคลและบุคคลซึ่งต้องการนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ประมูลได้ไปปรับปรุงให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้และทำการขายต่อ นอกจากนี้ยังมีบุคคลทั่วไปซึ่งนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ไปใช้เอง ทั้งนี้ ผู้ประมูลซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์จากบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพ่อค้ารถยนต์มือสอง และพ่อค้าคนกลางที่ประมูลรถยนต์เพื่อขายต่อไปยังลูกค้าผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปอีกทอดหนึ่ง
การดำเนินการประมูล
ผู้ดำเนินรายการจะประกาศให้ประมูลทรัพย์สินบนเวทีทีละชิ้น ผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของทรัพย์จะต้องแสดงเจตจำนงด้วยวิธี “ยกมือ” (ยกป้ายหมายเลขประมูล) ต่อสาธารณะหรือกลุ่มผู้เข้าร่วมประมูล ซึ่งอยู่ในสถานะสักขีพยานการประมูลโดยปริยาย โดยเริ่มประมูลจากราคาเปิดขั้นต่ำ ซึ่งหากมีผู้เข้าร่วมประมูลเสนอซื้อมากกว่า 1 ราย ผู้เสนอซื้อในราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล โดยผู้ดำเนินรายการจะมีการประกาศปรับขึ้นขั้นราคาของการประมูลดังนี้
รถยนต์ | ราคาเปิดต่ำกว่า 1 ล้านบาท ปรับราคาขึ้นครั้งละ 2,000 บาท ราคาเปิดตั้งแต่ 1 ล้านบาท ขึ้นไป ปรับราคาขึ้นครั้งละ 10,000 บาท |
รถจักรยานยนต์ | ปรับราคาขึ้นครั้งละ 1,000 บาท |
ทรัพย์สินประเภทอื่นๆ (ทรัพย์สินประเภทอื่น อยู่ระหว่างชะลอการให้บริการ) เช่น | |
แบรนด์เนม | ราคาเปิดต่ำกว่า 10,000 บาท ปรับราคาขึ้นครั้งละ 100 บาท ราคาเปิดตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป ปรับราคาขึ้นครั้งละ 500 บาท |
เครื่องใช้ไฟฟ้า | ราคาเปิดต่ำกว่า 10,000 บาท ปรับราคาขึ้นครั้งละ 200 บาท ราคาเปิดตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป ปรับราคาขึ้นครั้งละ 500 บาท |
การสิ้นสุดของการสู้ราคาแต่ละครั้งเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ที่ยกมือให้ราคาสูงสุดเป็นคนสุดท้ายและมีการนับขายถึงสาม พร้อมเสียงค้อนเคาะขายจากผู้ดำเนินรายการ ทั้งนี้ การประมูลทรัพย์สินแต่ละชิ้นจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 45 วินาทีต่อชิ้น โดยการประมูลทุกครั้งจะถูกบันทึกเทป เพื่อใช้เป็นหลักฐานและยืนยันการขาย เพื่อความโปร่งใส และสามารถสอบทานได้อีกด้วย
ทั้งนี้ การประมูลทรัพย์สิน ซึ่งจัดการประมูลที่สำนักงานใหญ่นั้น นอกจากการประมูลโดยวิธียกป้ายประมูลแล้ว ยังมีการเปิดให้ผู้เข้าประมูลร่วมประมูลพร้อมกันแบบ Real time ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ในระบบ E-Auction ได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางการประมูล และทำให้การประมูลของบริษัทฯ มีการแข่งขันและความโปร่งใสเพิ่มขึ้น โดยภายหลังการประมูลบริษัทฯ จะให้ผู้ชนะการประมูลจะต้องลงลายมือชื่อในเอกสารหลักฐานการประมูล โดยทั่วไปบริษัทฯ จะจัดเจ้าหน้าที่ติดต่อผู้ประมูลทรัพย์สินได้ไปชำระเงินมัดจำในอัตราร้อยละ 10 ของราคาที่ทำการประมูล แต่ไม่น้อยกว่า 5,000.- บาท (สำหรับลูกค้าทั่วไป เว้นแต่ลูกค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษ) และทำการชำระค่าธรรมเนียมในการประมูล
กระบวนการภายหลังการประมูล
ก) การรับชำระเงินค่าชำระทรัพย์สินในการประมูล
การชำระเงินค่าทรัพย์สินในการประมูล โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งการชำระเป็น 2 ครั้ง คือ การชำระเงินค่าทรัพย์สินในวันประมูลในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินแต่ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และการชำระเงินค่าทรัพย์สินภายหลังจากการประมูลภายใน 4 วัน เว้นแต่เป็นลูกค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษตามที่ได้ระบุไว้ ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าที่ทำการประมูลผ่านระบบ E-Auction จะทำการจ่ายชำระมูลค่าทรัพย์สินทั้งจำนวนภายใน 4 วันนับจากวันประมูล
การส่งมอบทรัพย์สินสำหรับลูกค้าทั่วไป จะทำการส่งมอบเมื่อทำการชำระเงินค่าทรัพย์สินครบทั้งจำนวนแล้วเท่านั้น โดยหากทรัพย์สินที่ผู้ประมูลได้รับไป เกิดความเสียหายหรือชำรุดไม่ตรงตามใบตรวจสภาพและผู้ซื้อได้แจ้งแก่บริษัทฯ ภายใน 24 ชั่วโมง บริษัทฯ จะช่วยประสานงานเพื่อซ่อมแซมรถยนต์ให้อยู่ในสภาพที่แจ้งไว้ในใบตรวจสภาพหรือชดใช้ค่าเสียหายกับรถยนต์โดยหน่วยงานเอกชนที่ให้บริการตรวจสภาพจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์ดังกล่าวภายในระยะเวลา 7 วัน ทั้งนี้ บริษัทฯ จะทำการส่งมอบทะเบียนและชุดโอนให้ภายหลังจากที่ทำการส่งมอบทรัพย์ ประมาณ 7–30 วัน โดยผู้ซื้อสามารถตรวจสอบเล่มทะเบียนได้ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ส่วนในกรณีที่ทรัพย์สินที่นำมาประมูลไม่มีผู้ซื้อ ผู้นำทรัพย์สินมาประมูลสามารถรับทรัพย์สินคืนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ข) การส่งมอบเงินค่าทรัพย์สิน
ภายหลังจากการประมูล บริษัทฯ จะจัดส่งรายงานการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าของทรัพย์สินที่เป็นนิติบุคคลทราบภายในวันทำการถัดไป และนำส่งมอบเงินค่าทรัพย์สินให้แก่ผู้ขายทรัพย์สินภายใต้เงื่อนไข และระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้กับเจ้าของทรัพย์สินแต่และราย โดยผู้ขายทรัพย์สินมีหน้าที่นำหลักฐานการโอน (เช่น เล่มทะเบียนและชุดโอน) มาให้บริษัทฯ เพื่อส่งมอบให้กับผู้ประมูลต่อไป
นโยบายการกำหนดราคา
ค่าคอมมิชชั่นจากเจ้าของทรัพย์สิน1/ | ค่าดำเนินการจากผู้ประมูลซื้อ | |
---|---|---|
รถยนต์ | กรณีบุคคลทั่วไป ยกเว้นค่าคอมมิชชั่น กรณีนิติบุคคล พิจารณาเป็นกรณีแล้วแต่ข้อตกลงตามสัญญา |
|
รถจักรยานยนต์ | กรณีบุคคลทั่วไป ยกเว้นค่าคอมมิชชั่น กรณีนิติบุคคล พิจารณาเป็นกรณีแล้วแต่ข้อตกลงตามสัญญา |
คันละ 1,500 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) |
การให้สิทธิพิเศษกับลูกค้า
เพื่อเป็นการรักษาฐานผู้เข้าร่วมประมูลเดิมและกระตุ้นให้มีการเข้าร่วมประมูลกับบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ บริษัทฯ จึงมีนโยบายในการให้สิทธิ ประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับผู้เข้าร่วมประมูลซึ่งมีการติดต่อกับบริษัทฯ มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตลอดจนมีการประมูลกับบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ และบริษัทฯ พิจารณาแล้วในอดีตมิได้มีการผิดนัดในการจ่ายค่าทรัพย์สินที่ทำการประมูลได้ บริษัทฯ ได้มีการจัดประเภทลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ เพื่อทำการตลาดเฉพาะกลุ่มเป็น 3 ประเภทหลัก ตามป้ายหมายเลขเพื่อกำหนดสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าเดิมของบริษัทฯ ทั้งนี้บริษัทฯ มีการ ปรับปรุงสิทธิพิเศษใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าที่สามารถนำรถยนต์ออกจากพื้นที่ได้ก่อนการชำระเงินค่าทรัพย์สิน ดังนี้
หลักเกณฑ์การได้รับสิทธิ | ป้ายหมายเลข 8 | ป้ายหมายเลข 7 | ป้ายหมายเลข 6 |
---|---|---|---|
ยอดสะสมประมูลรถ ย้อนหลัง 1 ปี (1 ม.ค.56 -31 ธ.ค.56) (ลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันสามารถ นำยอดมารวมกันได้) |
สูงสุด 10 ลำดับแรก หรือ 100 คันขึ้นไป หรือ เป็นลูกค้าผู้มีอุปการะคุณ |
|
ไม่จำกัดจำนวน |
ระยะเวลาที่เป็นลูกค้าของบริษัทฯ | ไม่จำกัดเวลา |
|
ตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป |
ประวัติการชำระเงินที่ผ่านมา | ตรงเวลา (ยกเว้นลูกค้าที่ติด 10 อันดับแรก | ตรงเวลา | ตรงเวลา |
สิทธิพิเศษที่ได้รับ | ป้ายหมายเลข 8 | ป้ายหมายเลข 7 | ป้ายหมายเลข 6 |
1. การวางเงินมัดจำป้าย | ไม่ต้องวางมัดจำป้าย | ||
2. จำนวนรถที่สามารถทำการประมูล | ไม่จำกัดจำนวน | ||
3. การชำระเงินเพื่อนำรถออกจากบริษัท | ไม่ต้องชำระเงิน | ต้องชำระเต็มจำนวน (เป็นเงินสด,เงินโอน, บัตรเครดิต,แคชเชียร์เช็ค, ตั๋วแลกเงิน) | ต้องชำระเต็มจำนวน (โดยสั่งจ่ายเช็คภายใน 3 วันหลังวันประมูล หรือภายใน 2 วัน กรณีประมูลในต่างจังหวัด |
นอกจากนี้ในส่วนการตลาด ประชาสัมพันธ์และโฆษณา บริษัทได้เชิญ ดร. เสรี วงมณฑา เข้ามาเป็นปรึกษาทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจการประมูลและขายทอดตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างภาพลักษณ์องค์กรในอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้